วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติหลวงพ่อพระใส













































ที่มา : ข่าวสดรายวัน -20 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6352

ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด "หลวงพ่อพระใส" เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว


ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย เป็นพระพุทธรูปที่ชาวเมืองนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสักการะอย่างยิ่งมีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อพระใส ทำการหล่อในสมัยเชียงแสน ชั้นหลังพระใสเป็นพระพุทธรูปล้านช้าง


สมัยนั้นประเทศล้านช้างยังรุ่งเรืองอยู่และพระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง พระเจ้าแผ่นดินทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งพระใส เป็นพระพุทธรูปที่หล่อคราวเดียวกันกับพระเสริม และพระสุก และคู่เคียงกันมาเสมอ พระใสเป็นพระพุทธรูปที่ผู้หล่อประสงค์จะให้เป็นพระสำหรับแห่มาแต่เดิม สังเกตได้จากห่วงกลม 3 ห่วง โตกว่านิ้วมือติดอยู่กับพระแท่น (หล่อติดกับองค์พระ) สำหรับผูกสอดเชือกขันกับยานแห่


เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว พระเกศเดิมของพระใสซึ่งเป็นของที่มีราคามาก ได้ถูกขโมยลักเอาไป พระเกศที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้เป็นพระเกศใหม่ ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนั้น จะมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ถ่ายทอดเรื่องราวประวัติความเป็นมาของการหล่อพระสุก พระเสริม พระใส จำนวน 20 ภาพ มีใจความว่า


ในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ช่วง พ.ศ.2093-2115 แห่งอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคณหุต ทรงมีพระราชธิดา 3 พระ องค์ ทรงพระนามว่า สุก, เสริม และใส พระราชธิดาทั้งสามมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงร่วมพระทัยขอพรจากพระราชบิดา สร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ มีข้าราชการ ชาวบ้าน และทางวัดได้ระดมช่างและคนมาช่วยกันอย่างมากมาย การหลอมทองเป็นไปด้วยความยากลำบากใช้เวลาหลอมถึง 7 วัน ทองยังไม่ละลาย ล่วงเข้าวันที่ 8 ตอนใกล้เพล ขณะที่หลวงตากับสามเณรช่วยกันสูบลมหลอมทองอยู่ ปรากฏว่ามีชีปะขาวคนหนึ่งอาสามาช่วยงาน หลวงตากับสามเณรหยุดพักขึ้นไปฉันเพลบนศาลา ชาวบ้านมองเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันเททองหล่อพระพุทธรูป แต่หลวงตากลับเห็นเพียงคนเดียว เมื่อฉันเพลเสร็จหลวงตาลงมาดูก็พบว่าทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้งสามเรียบร้อยแล้ว และชีปะขาวได้หายไป พระพุทธรูปทั้งสามองค์ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ได้แข็งข้อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปราบเมืองเวียงจันทน์ นำโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้า เมืองเวียงจันทน์จนสงบ จึงคิดอัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใสมาฝั่งไทย พระใสได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น ข้าหลวงอัญเชิญพระเสริม และพระใสลงไปกรุงเทพฯ ขบวนเกวียนของพระใสจากวัดประดิษฐ์ธรรมคุณถึงวัดโพธิ์ชัยเกิดเหตุขัดข้อง เกวียนไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ท้ายที่สุดเกวียนก็หักลง แม้จะนำเกวียนมาเปลี่ยนใหม่แต่ไม่เป็นผล จึงตกลงกันว่าพระใสจะประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัย ชาวหนองคายมีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อพระใส เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์สร้างขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนเป็นสำคัญ และจากความศรัทธาเลื่อมใสนี้ มักจะมีประชาชนมาบนบานขอพรต่อองค์หลวงพ่อพระใส โดยส่วนใหญ่มักจะบนบานให้แคล้วคลาด เดินทางปลอดภัย











นอกจากนี้ ยังมีการบนบานเกี่ยวกับสุขภาพ หน้าที่การงาน เมื่อบนบานและสัมฤทธิผลแล้วก็จะมาแก้บนในช่วงสงกรานต์ โดยนำปราสาทเงิน ปราสาททอง (ปัจจัย) โพธิ์เงิน โพธิ์ทอง 1 คู่, พวงมาลัย 9 พวง, แผ่นทองเปลว 9 แผ่น และผ้าอังสะ 3 ผืน มาทำการแก้บน ซึ่งจะมีพระสงฆ์พาประกอบพิธีพิเศษที่สุด คือ การบนบานขอลูกจากหลวงพ่อพระใส คู่สามีภรรยาที่ต้องการมีลูกและขอพึ่งบารมีหลวงพ่อพระใส จะต้องมาประกอบพิธีบนบานต่อหน้าหลวงพ่อพระใส เตรียมขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ขันหมากเบ็ง เทียนเงิน เทียนทอง โดยมีพระสงฆ์นำประกอบพิธี 4 รูป หลังจากเสร็จพิธี ในวันพระสามีภรรยาต้องนุ่งขาวห่มขาว งดร่วมเพศเด็ดขาด จะต้องถือศีล 8 อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีลูก และเมื่อสัมฤทธิ์ดังประสงค์แล้ว รอให้คลอดลูกก่อน แล้วนำลูกน้อยนั้นมาทำพิธีแก้บน โดยจะมีพระสงฆ์ 4 รูป นำประกอบพิธีต่อหน้าหลวงพ่อพระใสและผูกแขนทารกแรกเกิดให้ ถือว่าเป็นการปวารณาเป็นลูกของหลวงพ่อ มีข้อห้าม คือ เด็กที่เกิดจากการบนบานขอพรจากหลวงพ่อพระใส จะเป็นเด็กซนมาก แต่ฉลาด พ่อแม่ห้ามตีเด็ดขาด หากวันใดตีเด็ก เด็กจะป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุทันที และต้องมาทำพิธีขอขมาองค์หลวงพ่อ


สำหรับงานประเพณีสำคัญเกี่ยวกับองค์หลวงพ่อพระใส ชาวหนองคายจะยึดถือเอาวันสงกรานต์ของทุกปี จัดงานสมโภชหลวงพ่อพระใส โดยในวันที่ 13 เมษายน จะเป็นวันทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใสลงจากพระแท่นแห่รอบพระอุโบสถ เวียนประทักษิณ 3 รอบ แล้วอัญเชิญขึ้นสู่ราชรถ เป็นองค์พระประธานนำพระพุทธรูปจากชุมชนต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย แห่ไปรอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคลและในวันสุดท้าย จะมีพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใสกลับขึ้นประดิษฐานบนพระอุโบสถเช่นเดิม เป็นอันเสร็จสิ้นงานประเพณีสมโภชองค์หลวงพ่อพระใสในรอบปี
ต้นสาละ ภายในบริเวณวัด












คาถาบูชาหลวงพ่อพระใส
ตั้งนะโม 3 จบ อะระหัง พุทโธ โพธิชโย เสยยะคุโณ โพธิสัตโต มหาลาโภ ปิยัง มะมะ ภะวันตุโน โหตุ สัพพะทา

วันมาฆบูชา




วันมาฆบูชา ประวัติ ความเป็นมา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓ (๙ ก.พ.๕๒)



"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชา จึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชา ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา
ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี



กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
๑. ทำบุญใส่บาตร
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียนที่วัด
๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ





ประวัติวันมาฆะบูชา
หากย้อนไปในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ในสมัยพุทธกาล วันนี้เป็นวันที่มีการประชุมครั้งใหญ่ หรือ จาตุรงคสันนิบาต อันมีความมหัศจรรย์ 4 ประการ ในครั้งพุทธกาล กล่าวคือ ภิกษุจำนวน 1,250 องค์ มาจาก ที่ต่าง ๆ กัน เพื่อสักการะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ เมืองมคธ แต่ละองค์ก็เดินทาง มาเอง โดยมิได้มีการนัดหมายกันล่วงหน้าแต่ประการใด พระภิกษุทั้งหมด ล้วนแต่เป็นผู้ได้บรรลุพระอรหันต ์แล้วทุกๆองค์

พระภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น พระจันทร์กำลังเสวยมาฆะฤกษ์ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสาม ซึ่งเป็นคืนวันเพ็ญ ที่ถือเป็นเวลาดีที่สุด ท่านเรียกว่า โอกาสโลกเป็นใจ คือ กลางคืน อากาศไม่ร้อน ทั้งดวงจันทร์ก็สว่างนวล ไม่มีเมฆหมอกบัง ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะอย่างยิ่งในการฟังธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริว่า เป็นกาลเวลาอันเหมาะสมที่จะได้กระทำพิธี สันนิบาตสาวก เพื่อวางรากฐานสันติภาพให้เกิดขึ้นแก่โลก ประกาศอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่ามกลางพระอรหันตสาวกทั้ง 1,250 รูป
เพื่อเป็นหลักในการดำเนิน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกื้อกูลประโยชน์สูงสุดแก่ชาวโลก การประชุมครั้งนี้จึงถือว่า เป็นการประชุมครั้งยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีพระบรมศาสดาเป็นประธาน ท่ามกลางมหาสันนิบาตแห่งสาวก พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงธรรม โอวาทปาฏิโมกข์ อันเปรียบเสมือนธรรมนูญแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวพุทธทั้งหลายได้ยึดถือเป็นแม่บท สำหรับ การประพฤติปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ของตนเอง และเป็นแม่บทสำหรับการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา มาตราบเท่าทุกวันนี้

สำหรับโอวาทปาฏิโมกข์นี้ เป็นคนละอย่างกับพระปาฏิโมกข์ ที่พระภิกษุต้องลงโบสถ์ฟังทุกวันพระ กึ่งเดือน พระปาฏิโมกข์ หมายถึง ศีล 227 ข้อ ซี่งเป็นพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ แต่ โอวาทปาฏิโมกข์ ที่ พระบรมศาสดาทรงแสดงในครั้งนั้นเป็นโอวาทที่เป็นหลักประธาน ในการประกาศ พระศาสนา
โอวาทปาฏิโมกข์นั้น มีใจความสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา หลักคำสอนที่สำคัญหรือหัวใจของพระพุทธศาสนา และวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อุดมการณ์ของชาวพุทธ

อุดมการณ์ของชาวพุทธ คือเป้าหมายอันดีงามสูงสุดของชาวพุทธ หรือเป้าหมายชีวิตของชาวพุทธ อันได้แก่พุทธบริษัท 4 ยิ่งถ้าบวชแล้วก็ต้องยิ่งตั้งเป้าหมายให้เด่นชัด และยังทำให้เกิดความกระตือรือร้น ที่จะปรับปรุงตัวตาม
เป้าหมาย ตามคำสอนของพระบรมศาสดา ให้เป็นเนื้อนาบุญชองชาวโลก คือเป็นประโยชน์ เป็นที่พึ่งทั้งต่อตนเองและชาวโลกอีกด้วยเพราะฉะนั้น พวกเราต้องมาพิจารณาอุดมการณ์ ของชาวพุทธ ซึงมี 3 ประการ ดังนี้
1. ขนตี ปรมํ ตโป ตีติกขา ความอดทน คือความทนทาน เป็นตบะอย่างยิ่ง (ต้องมีควาามอดทนและเข้มแข็ง อดกลั้นต่ออำนาจฝ่ายต่ำของกิเลสที่คอยชักจูงให้กระทำผิด)
2. นิพพานํ ปรมํ วทนติ พุทธา ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม (ต้องมุ่งความดับทุกข์ โดยมีขันติเป็นเครื่องกำจัดกิเลสให้หมดไปตามลำดับ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือพระนิพพาน)
3. นหิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํวิเหฐยนฺโต บรรพชิตผู้ฆ่าสัตว์อื่น เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ เลย (ผู้รักความสงบ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดขีวิต ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน)

หัวใจของพระพุทธศาสนาคือหลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เมื่อเรามีอุดมการณ์มั่นคงอยู่ในใจแล้ว ควรจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานหลักการการดำเนินชีวิตไว้ 3 ประการ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นหัวใจ ของพระพุทธศาสนา
1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง (ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจา หรือใจ)
2. กุสลสฺสูปสมฺปทา การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม (ความดีหรือบุญนั้น แม้เพียงเล็กน้อย ก็อย่าไปดูถูก ว่าจะไม่ให้ ผลเพราะขึ้นชื่อว่าบุญ ไม่ว่ามากหรือน้อย ย่อมให้ผลเป็นความสุขทั้งนั้น)
3. สจิตฺต ปริโยทปนํ การกลั่นจิตใจของตนให้ผ่องใส (คิด พูด ทำแต่ในสิ่งที่ดี หมั่นเจริญภาวนาให้มาก มีโยนิโสมนสิการคือการจับแง่คิดในทางที่ถูกต้อง จะทำให้ใจไม่ฟุ้งซ่าน ผ่องใสอยู่เสมอ)
วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือวิธีการปรับปรุงตัวเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบ วิธีการปรับปรุงตัว เองให้เหมาะสมที่จะเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ตนเอง และชาวโลกไปพร้อม ๆ กัน อยู่ 6 ประการ ซึ่งเป็นวิธีที่ล้ำลึก ซึ่งหากใครทำตามได้นอกจากตัวเอง จะได้เป็นต้นแบบที่ดีแล้ว การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลสำเร็จอย่างงดงาม แน่นอนอีกด้วย
1. อนูปวาโท การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน (ระวังคำพูดไม่ให้เป็นการกล่าวว่าร้ายใคร หรือพูดโจมตีใคร)
2. อนูปฆาโต การไม่เข้าไปทำร้ายกัน (ระวังมือระวังเท้าไม่ให้ทำชั่ว ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่หรือบังคับ)
3. ปาฏิโมกฺเข จ สงฺวโร ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (สำรวมการประพฤติปฏิบัติให้อยู่ใน วินัยและศีลธรรม อันดีตลอดเวลา)
4. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ เป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร (รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร จะทำให้สุขภาพดี ส่งผลให้การปฏิบัติธรรมมีความเจริญก้าวหน้า)
5. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ ที่นอนที่นั่งอันสงัด (มุ่งเจริญสมณธรรมความเงียบสงัดจะทำให้จิตใจสงบ ใจรวมเป็นหนึ่งได้เร็ว)
6. อธิจิตฺเต จ อาโยโค ประกอบความเพียรในอธิจิต (หมั่นทำสมาธิภาวนาโดยไม่ทอดธุระ) เมื่อถึงวันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คราใด ชาวพุทธทั้งหลายต่างขวนขวายประกอบการ บุญ กุศล และกระทำพิธีสักการะบูชาเป็นพิเศษ ด้วยการเวียนเทียนทักษิณาวรรต โดยรอบพระพุทธเจดีย์ พระอุโบสถ หรือจุดโคมประทีปบูชา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระคุณของพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ที่ได้สืบทอดเจตนารมย์ อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา สืบต่อมาอย่างแน่วแน่ ตราบจนทุกวันนี้
ในขณะเดียวกัน เนื่องในโอกาส อันเป็นมงคลนี้ พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ก็จะทรงเสด็จไปประกอบพิธีทางศาสนา ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ ต่อมา ก็จะทรงนำ เหล่าพสกนิกรประกอบพิธีเวียนเทียน จัดขึ้นภายในวัด พระแก้วนี้ด้วย พิธีเวียนเทียน นี้จะประกอบในเวลาใด ก็ได้ แล้วแต่ ความสะดวกของ ประชาชน อาจจะเป็น ตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้

แต่ในปัจจุบันมักจะนิยมจัดพิธีเวียนเทียน ในช่วงพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว โดยขบวนเวียนเทียนนี้ ก็จะมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ

ที่มา : http://www.dhammathai.org/

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลวงพ่อจำเนียร พระวิปัสสนาจารย์ วัดถ้ำเสือ กระบี่ มาโปรดชาวบ้านไพ โนนสูง โคราช

เมื่อวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมานี้ พระวิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฎโฐ วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ ได้รับนิมนต์มางานเข้าปริวาสกรรม ที่วัดป่าบ้านไพ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ศิษย์ทั้งหลายที่ทราบข่าวจึงมากราบนมัสการหลวงพ่อ และปลื้มปิติ ที่ได้ฟังธรรมที่ท่านสอน








































(ในภาพบน)
ท่านนายอำเภอ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ว่าที่ ร.ต. นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์

































































อ่านประวัติหลวงพ่อที่นี่ค่ะ :

หรืออาจศึกษาธรรมจากเว็บไซต์ของลูกศิษย์ท่านที่นี่ :